วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2551

Perspective Drawing

ภาพสามมิติแบบเพอร์สเพคทีป (Perspective Drawing) ภาพเพอร์สเพคทีป เป็นภาพที่เขียนแล้วเหมือนจริง ชิ้นงานที่อยู่ใกล้ก็จะมีขนาดใหญ่ และจะเล็กลงเมื่ออยู่ลึกไกลออกไป ภาพเขียนแบบชนิดนี้นิยมใช้เขียนในงานสถาปัตยกรรม มีอยู่ 3 แบบ คือ

1. ภาพเพอร์สเพคทีปแบบรวมสายตา 1 จุดเป็นภาพเขียนแบบที่มองเห็นด้านหน้าลักษณะตรงตั้งฉากและจะเห็นด้านอื่นเอียงลึกลงไปรวมจุด 1 จุด ดังแสดงในรูปที่ 1
2. ภาพเพอร์สเพคทีปแบบรวมสายตา 2 จุด เป็นภาพเขียนแบบที่มีลักษณะแกนหลักตั้งฉาก ส่วนแกนภาพด้านอื่นจะเอียงลึกลงไปรวมสายตาอยู่ 2 จุดทางด้ายซ้ายและขวามือ ดังแสดงในรูปที่ 2



3. ภาพเพอร์สเพคทีปแบบรวมสายตา 3 จุด เป็นภาพเขียนแบบที่มีลักษณะแกนสามแกนที่แต่ละแกนจะเอียงลึกลงไปรวมสายตาอยู่ที่จุดรวม 3 จุด ดังแสดงในรูปที่ 3






ภาพลวดลายตกแต่ง (Decorative painting)

เป็นภาพวาดลวดลายประกอบเพื่อตกแต่งสิ่งต่าง ๆ ให้ เกิดความสวยงามมากขึ้น เช่น การวาดลวดลายประดับอาคาร สิ่งของเครื่องใช้ ลวดลายสัก ฯลฯ

ที่มา:http://www.mew6.com/composer/art/painting.php

ภาพองค์ประกอบ (Composition)



เป็นภาพที่แสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของศิลปะ
และ ลักษณะในการจัดองค์ประกอบ เพื่อให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้สร้าง โดยที่อาจ
ไม่เน้น แสดงเนื้อหาเรื่องราวของภาพ หรือ แสดงเรื่องราวที่มาจากความประทับใจ โดยไม่ยึดติดกับความ
เป็นจริง ตามธรรมชาตินาๆ ชนิดนี้ ปรากฏมากในงานจิตรกรรมสมัยใหม่

ที่มา:http://www.singsamut.ac.th/~art/painting.html

ภาพประกอบเรื่อง (Illustration)


เป็นภาพที่เขียนขึ้นเพื่อบอกเล่าเรื่องราว หรือถ่ายทอดเหตุการณ์ ต่าง ๆ ให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยอาจเป็นทั้งภาพประกอบเรื่องในหนังสือ พระคัมภีร์ หรือภาพเขียนบนฝาผนัง อาคาร สถาปัตยกรรมต่าง ๆ และรวมถึงภาพโฆษณาต่าง ๆ ด้วย

ภาพทิวทัศน์ (LAND SCAPE)

ภาพทิวทัศน์ หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา ซึ่งมีทั้งสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อันได้แก่ สิ่งก่อสร้างต่างๆ ภูเขา ท้องฟ้า ทะเล ต้นไม้ ทุ้งหญ้า ฯลฯ


ภาพทิวทัศน์ทางบก
ภาพทิวทัศน์ทางบก หมายถึง การเขียนภาพที่แสดงให้เห็นสิ่งที่อยู่บนบก เช่น พื้นดิน ภูเขา ต้นไม้ บ้านเรือน ทุ้งหญ้า รวมไปถึงท้องฟ้าด้วย นักเรียกต้องเรียนรู้ความเป็นธรรมชาติของสิ่งเหล่านี้ และให้เข้าใจสีของธรรมชาติ ทิศทางของแสงเงา บรรยากาศและกาลเวลาเป็นอย่างดีเสียก่อน




ภาพทิวทัศน์ทะเล
ภาพทิวทัศน์ทะเล หมายถึง การเขียนภาพที่แสดงให้เห็นหาดทราย โขดหิน น้ำทะเล ลูกคลื่น เกาะแก่งต่างๆ เรือ หมู่บ้านชาวประมง ต้นไม้ ท้องฟ้า ฯลฯ ภาพทิวทัศน์ทะเล เป็นที่นิยมกันมากในหมู่ศิลปินและนักเรียนไม่แพ้ทิวทัศน์บกเช่นกัน โดยเฉพาะลูกคลื่นทะเลที่กำลังพัดมาและกระทบกับโขดหินและฟุ้งกระจายสวยงามท้าทายบรรดาศิลปินสีน้ำมากลูกคลื่นเป็นสิ่งที่เคลื่อนไหวเป็นจังหวะตามกระแสลมที่พัดมา ยิ่งบริเวณที่ฟองขึ้นมากระทบกับโขดหินแล้วฟุ้ยกระจายนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากสำหรับมือใหม่


ภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้าง
ภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้าง หมายถึง การเขียนภาพโครงสร้างอาคารตึกรามบ้านช่อง สลัม โบสถ์ วิหาร วัดวาอาราม อาจมีต้นไม้ผู้คน และสิ่งต่างๆประกอบให้ดูเป็นเรื่องราว สิ่งก่อสร้างต่างๆส่วนมากแล้วจะเป็นรูปทรงเรขาคณิต คุณค่าของภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้่างจะอยู่ที่บรรยากาศและแสงเงาที่กระทบกับสิ่งก่อสร้างโดยตรง ตลอดจนลักษณะการประกอบกันของโครงสร้างที่สลับซับซ้อนสวยงาม




ภาพสัตว์ (ANIMAL FIGURE)

การเขียนภาพสัตว์โดยมุ่งแสดงลักษณะอาการ การเคลื่อนไหวของสัตว์ต่างๆ เช่น การวิ่ง การกระโดด กระโจน เป็นต้น

ที่มา:http://www.thaigoodview.com/node/10695

การวาดเส้นภาพคนเหมือน




ภาพคนเหมือน ( Portrait ) เป็นภาพคนที่นิยมเขียนกันมาก เนื่องจากในเชิงศิลปะ มนุษย์ จัดว่า
เป็นสิ่งที่มีรูปร่างที่สวยงามที่สุด ลักษณะของภาพคนเหมือนจะวาดตั้งแต่ใบหน้าถึงเอว บางครั้งก็เขียนเต็มตัว หรืออาจวาดเฉพาะใบหน้าอย่างเดียวก็ได้ แต่มีจุดประสงค์เพื่อแสดงความเหมือนของหน้าตา ผิวพรรณ อารมณ์ และความรู้สึกของผู้ที่เป็นแบบ ผู้วาดจะต้องสังเกตจับบุคลิกพิเศษบนใบหน้าของผู้ที่เป็นแบบให้ได้ เพราะใบหน้าของแต่ละบุคคลย่อมจะมีลักษณะที่เด่นแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามการเขียนภาพคนเหมือนจะต้องศึกษาลักษณะโครงสร้างทางกายวิภาคของศีรษะรวมถึงตำแหน่งอวัยวะต่างๆ บนใบหน้า เพื่อทำให้ภาพที่วาดออกมามีความเป็นจริงตามธรรมชาติของคนที่เป็นแบบ
การวาดภาพคนเหมือนสามารถวาดได้จากแบบหุ่นคนจริงหรืออาจใช้ภาพถ่ายเป็นแบบก็ได้
แต่การวาดจากหุ่นจริงจะให้ภาพมีชีวิตชีวามากกว่า เพราะผู้วาดมีโอกาสได้สัมผัสกับบุคลิกลักษณะ อารมณ์ ความรู้สึกของผู้ที่เป็นแบบซึ่งผู้วาดสามารถที่จะถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ลงในภาพได้
การร่างสัดส่วนของใบหน้า ใบหน้าคนแบ่งออกเป็น สามส่วนครึ่ง คือ
ส่วนที่ 1 จากปลายคางถึงปลายจมูก
ส่วนที่ 2 จากปลายจมูกถึงหัวคิ้ว
ส่วนที่ 3 จากหัวคิ้วถึงไรผม
ส่วนที่ 3½ จากไรผมถึงกลางศีรษะ


หลักการวาดเส้นภาพคนเหมือน
1. การจัดภาพ ควรคำนึงถึงความเหมาะสมสมกับหน้ากระดาษ คือ ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป
และสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ควรคำนึงในการจัดภาพคือ การเลือกมุมที่จะวาด ควรเลือกมุมที่วาดได้ง่าย แสงเงาชัดเจน
2. การร่างภาพ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
2.1 กำหนดโครงสร้างส่วนรวมด้วยรูปรงง่าย ๆ จากนั้นจึงแบ่งส่วนของศีรษะออกเป็น
สามส่วนครึ่งโดยประมาณ โดยวัดจากปลายคางถึงปลายจมูก 1 ส่วน จากปลายจมูกถึงหัวคิ้ว 1 ส่วน จากหัวคิ้วถึงไรผม 1 ส่วน และจากไรผมถึงส่วนบนสุดของศีรษะอีกครึ่งส่วน
2.2 ร่างส่วนสำคัญที่แน่นอนของใบหน้าเบา ๆ เช่น คิ้ว จมูก รูปเค้าโครงของใบหน้า
ที่ละเอียดขึ้น กำหนดตำแหน่งของดวงตา ใบหู และปาก โดยมีของสังเกต คือ หัวตาทั้งสองข้างมักจะอยู่ในแนวดิ่งเดียวกับปีกจมูก ส่วนบนของใบหูมักจะอยู่ในระดับเดียวกับหางคิ้ว
และติ่งหูมักจะอยู่ในระดับเดียวกับปลายจมูก สำหรับการกำหนดตำแหน่งของปาก ให้ลากเส้นแบ่งครึ่งระหว่างปลายจมูกกับปลายคาง เส้นนี้จะกำหนดตำแหน่งของริมฝีปากล่าง
การกำหนดตำแหน่งของมุมปากจะอยู่ในแนวดิ่งเดียวกันกับตาดำในกรณีที่มองด้านตรง ส่วนขนาดของปากเล็ก ปากใหญ่ ตาตี่ตาโต หรือตาชี้ขึ้นชี้ลง ต้องสังเกตจากแบบ
ที่เราวาดว่าแต่ละคนมีลักษณะเด่นที่แตกต่างกันอย่างไร
3. การแรเงา แบ่งส่วนที่เป็นแสงกับเงาออกจากกันก่อนด้วยเส้นร่างเบา ๆ จากนั้นจึงแรเงา
น้ำหนักอ่อนที่สุดลงไปในพื้นที่ทั้งหมดก่อน แล้วค่อยๆเพิ่มน้ำหนักให้เข้มขึ้นไปที่ละขั้น ห้ามลงน้ำหนักเข้มด้วยการกดดินสอให้หนักในที่เดียว เพราะจะทำให้ภาพที่ออกมาดูแข็งกระด้าง
ไม่มีบรรยากาศ ระหว่างแรเงาพยายามเปรียบเทียบน้ำหนักอ่อน - เข้ม ของหุ่นต้นแบบอยู่เสมอ จะทำให้การลงน้ำหนักแสงเงาได้ถูกต้องแม่นยำขึ้น
การวาดเส้นภาพคนเหมือนจากคนจริง ผู้ที่ฝึกใหม่ควรฝึกวาดอวัยวะที่สำคัญแต่ละส่วนของ
ใบหน้า เช่น ตา หู จมูก และปาก ในมุมมองที่หลากหลาย และให้ฝึกจนเกิดความชำนาญ ผู้ฝึกสามารถ
ที่จะฝึกวาดจากหุ่นปูนปลาสเตอร์ ภาพถ่าย หรือตัวอย่างจากแบบฝึก เพื่อให้มีความเข้าใจในโครงสร้างสำคัญและลักษณะแสงเงาตามความเป็นจริง

การเขียนภาพคน


การเขียนภาพคน”
ภาพคน(Figure)เป็นการเขียนภาพคนเต็มตัวในลักษณะต่างๆ ในการเขียนภาพคนจะต้องศึกษาโครงสร้างของโครงกระดูก และระบบกล้ามเนื้อที่แสดงลักษณะการเคลื่อนไหวในอาการ ท่าทางต่างๆ เพื่อให้ภาพมีลักษณะเหมือนจริง นอกจากนี้จะต้องกำหนดสัดส่วนในโครงสร้าง เพื่อเขียนรายละเอียดลงไป
หลักในการเขียนภาพ มีผู้เสนอการเขียนภาพคนไว้หลายแบบ เพื่อให้ง่ายต่อการฝึกฝน จึงของเสนอวิธีการเขียนภาพคนดังต่อไปนี้
1. สังเกตลักษณะท่าทาง มุมมองที่สวยงามและสนใจ โดยคำนึงถึงทิสทางของแสงด้วยและไม่ควรอยู่ใกล้หุ่นเกินไปจะทำให้การมองสัดส่วนไม่สมบรูณ์
2. ลงมือสร้างภาพโดยร่างจากส่วนร่วม กำหนดสัดส่วน ขนาดให้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ ใช้ดินสอเบาๆ
3. ร่างโครงสร้างเป็นรูปทรงเรขาคณิต เพื่อให้ง่ายต่อการปรับรูปทรงให้เข้ากับสรีระ (Body) โครงสร้างของมนุษย์
4. ลากเส้นให้ต่อเนื่องตามรูปทรงของทรงเรขาคณิตให้โครงสร้างของภาพมีความชัดเจนสมบรูณ์ขึ้น
5. ลงน้ำหนักด้วยการแรเงาหรือให้น้ำหนักสี โดยเน้นความถูกต้องของสัดส่วนกล้ามเนื้อระยะใกล้-ไกล จะช่วยทำให้ภาพมีความสมบรูณ์กลมกลืนเหมือนจริงมากขึ้น

ภาพหุ่นนิ่ง (STILL LIFE)


การเขียนภาพหุ่นนิ่ง หมายถึง การเขียนจำพวกวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ เช่น แจกัน หม้อ ไห ขวด แก้ว ผ้า ผลไม้ ดอกไม้ ฯลฯ ซึ่งสามารถหาได้ไม่ยากนัก การเขียนภาพหุ่นนิ่งเป็นพื้นฐานแรกที่นักศึกษาควรจะฝึกเขียนก่ิอนจะไปเขียนภาพทิวทัศน์ หรืออย่างอื่นๆหุ่นนิ่งเป็นแบบที่อยู่กับที่เคลื่อนไหวไม่ได้ สามารถจัดวางในตำแหน่งที่ต้องการได้ เขียนในห้องได้ทำให้มีสมาธิในการเขียนได้เป็นอย่างดี

Drawing & Painting

1. การวาดเส้น (Drawing) เป็นการวาดภาพโดยใช้ปากกา หรือดินสอ ขีดเขียนลงไป แปลก กิจเฟื่องฟู 2539บนพิ้นผิววัสดุรองรับเพื่อให้เกิดภาพ การวาดเส้น คือ การขีดเขียนให้เป็นเส้นไม่ว่าจะเป็นเส้นเล็ก หรือเส้นใหญ่ ๆ มักมีสีเดียวแต การวาดเส้นไม่ได้จำกัดที่จะต้องมีสีเดียว อาจมีสีหลาย ๆ สีก็ได้ การวาดเส้น จัดเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะแทบทุกชนิด อย่างน้อย ผู้ฝึกฝนงานศิลปะควรได้มีการฝึผนงานวาดเส้นให้เชี่ยวชาญเสียก่อน ก่อนที่จะไปทำงาน
2. การระบายสี (Painting) เป็นการวาดภาพโดยการใช้พู่กัน หรือแปรง หรือวัสดุอย่างอื่น มาระบายให้เกิดเป็นภาพ การระบายสี ต้องใช้ทักษะการควบคุมสีและเครื่องมือมากกว่าการวาด เส้น ผลงานการระบายสีจะสวยงาม เหมือนจริง และสมบูรณ์แบบมากกว่าการวาดเส้น


ที่มา:http://www.mew6.com/composer/art/painting.php

วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551

คณิตกับศิลปะ

คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ทุกคนมองภาพว่าเป็นวิชาที่เกี่ยวกับตัวเลขมีความยากและซับซ้อน การเรียนต้องอาศัยความตั้งใจสูงและสิ่งที่ตามมาคือ ความเครียด ความวิตกกังวล ตลอดจนความล้มเหลวทางการเรียนในที่สุด ความรู้สึกและความคิดเหล่านี้เป็นสาเหตุให้ในปัจจุบันมีผู้ศึกษาในสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มีน้อยลงจนขาดแคลน ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขเป็นการด่วน มิฉะนั้นแล้วประเทศไทยจะต้องเข้าสู่ภาวะที่ล้มเหลวทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างแน่นอน เพราะขาดบุคลากรทางด้านนี้นั่นเอง
แนวทางแก้ไขที่ทำได้คือ การที่จะต้องทำให้นักเรียนเปลี่ยนความรู้สึกจากที่ว่าวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยาก เรียนแล้วเครียด น่าเบื่อหน่าย มาเป็น วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เรียนแล้วสนุก มีความน่าสนใจ เป็นการผ่อนคลายความตรึงเครียด และเป็นการสร้างจินตนาการทางการคิดที่กว้างไกล
ศิลปะถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถดึงดูดความสนใจของนักเรียนให้มีความชอบที่จะเรียนมากขึ้น เพราะศิลปะเป็นวิชาที่ไม่มีผิดไม่มีถูก ทุกคนสามารถเรียนได้ และส่วนใหญ่ก็มีความชอบอยู่แล้วเป็นทุนเดิม วิชาคณิตศาสตร์กับศิลปะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออกเลยที่เดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาระเรขาคณิต ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานของศิลปะก็ว่าได้ ดังนั้นในการเรียนการสอนเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ในส่วนของเรขาคณิตก็น่าจะใช้กิจกรรมเกี่ยวกับศิลปะที่เกิดจากเส้นตรง มุม ฯลฯ มาให้นักเรียนได้ปฏิบัติในรูปแบบต่าง ๆ เช่น วาดภาพ ต่อรูป โยงเส้น ระบายสี ฯลฯ
รูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจและเป็นกิจกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์มาประกอบโดยอาศัยความประณีต และความอดทนก็คือ การทำทรงเรขาคณิต ๓ มิติ ในรูปแบบต่าง ๆ โดยใช้เทคนิคการตัดกระดาษ การพับกระดาษแล้วสอด (Origami) เพื่อให้ได้ทรงเรขาคณิตในแบบต่าง ๆ ผลงานที่ได้จะเป็นทรงเรขาคณิตรูปแบบต่าง ๆ คือ ทรงสี่เหลี่ยม ทรงสามเหลี่ยม ทรงหลายเหลี่ยม ฯลฯ ซึ่งชิ้นงานเหล่านี้มีรูปแบบและสีสันที่สวยงามแปลกตา สามารถนำไปใช้เป็นอุปกรณ์การสอนสาระเรขาคณิต สาระศิลปะ ตลอดจนเป็นกิจกรรมเสริมให้กับนักเรียนในกิจกรรมชุมนุม เพื่อให้นักเรียนได้ประดิษฐ์งานของนักเรียนเอง ออกแบบชิ้นงานเอง อันจะนำมาซึ่งความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลายและความสนุกสนานในการเรียนอีกด้วย


ที่มา: http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/ayutthaya/pinij_s/index.html